วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รายงานการวิจัยผลของการใช้แท็บเล็ต ป.๑

สรุปรายงานการวิจัยผลของการใช้แท็บเล็ต ป.
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     1.ได้แนวคิดและวิธีการในการพัฒนาศักยาภาพการจัดการเรียนการสอนของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ให้มีความเข้มแข็ง
2.ได้แนวทางในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้แท็บเล็ต
นิยามเชิงปฏิบัติการ
ผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากการใช้แท็บเล็ต  หมายถึง ความรู้ความสามารถของนักเรียนในการใช้แท็บเล็ตในการสืบค้นความรู้และเจตคติของการใช้แท็บเล็ต
ความรู้ความสามารถของนักเรียนในการใช้แท็บเล็ตในการสืบค้นความรู้ หมายถึง ผลการใช้แท็บเล็ตในการหาความรู้และเขียนสรุปความรู้ตามตัวชี้วัดรายปีชั้นประถมศึกษาปีที่1
พฤติกรรมการใช้แท็บเล็ตของนักเรียน หมายถึง ลักษณะการใช้แท็บเล็ตของนักเรียนในด้านวัตถุประสงค์ของการใช้แท็บเล็ต ปริมาณการใช้แท็บเล็ต และสถานที่ที่ใช้แท็บเล็ต
ผลกระทบต่อต่อสุขภาพของนักเรียนจากการใช้แท็บเล็ต หมายถึง อาการทางด้านร่างกายและจิตใจที่เปลี่ยนแปลงหลังจากการใช้แท็บเล็ต
ผลกระทบต่อสังคมของนักเรียนหลังจากการใช้แท็บเล็ต หมายถึง ลักษณะความสัมผันธ์ของนักเรียนกับเพื่อนนักเรียนกับครู และนักเรียนกับผู้ปกครองที่เปลี่ยนแปลงหลังจากการใช้แท็บเล็ต
การจักการเรียนรู้ของครูโดยใช้แท็บเล็ต หมายถึง ความสามารถ เจตคติ และพฤติกรรมการใช้แท็บเล็ตในการจักการเรียนรู้ของครู


การนำนโยบายสู่การปฏิบัติการ โครงการ “One Tablet PC per Child : OTPC”
2.1 การนำนโยบายเข้าสู้การปฏิบัติการ
   การนำนโยบายเข้าสู้การปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม และบรรลุวัตถุประสงค์ตามโครงการนั้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันนำสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง การปฏิบัติในแต่ละระดับมีความแตกต่างกันตามบทบาทหน้าที่
1.บทบาทบุคลากรระดับเขตพื้นที่การศึกษา
   1.การนำนโยบายเข้าสู้การปฏิบัติการการใช้แท็บเล็ต โรงเรียนในสังกัดทำ MOU กับสถานศึกษา
   2.ประชาสัมพันธ์ชี้แจงผู้ปกครองให้มีความเข้าใจในนบายการใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการเรียนการสอน
   3.จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดเก็บคอมพิวเตอร์พกพาก่อนแจกจ่ายแก่โรงเรียนในสังกัด
   4.แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจรับ ตรวจสอบคอมพิวเตอร์พกพา
   5.แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการเป็นลายลักษณ์อักษร
   6.พัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเกดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์พกพาในการจัดการเรียนการสอน
2.บทบาทของนักศึกษานิเทศก์/ผู้ได้รับการแต่งตั้งรับผิดชอบโครงการ
   1.นิเทศให้ความรู้แก่ครูผู้สอนในการทำหน้าที่ใช้แท็บเล็ต ในการจัดการเรียนการสอน
   2.นิเทศส่งเสริมสนับสนุนครูผู้สอนจัดกิจกรรมในการใช้แท็บเล็ต
   3.ประสานงาน นิเทศชี้แนะการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่นำสื่อแท็บเล็ต ไปสู่ในการปฏิบัติในการจัดการ เรียนการสอน
   4.รายงานผลสรุปการนิเทศและเผยแพร่งานที่ประสบความสำเร็จในการใช้สื่อแท็บเล็ต ระดับเขตพื่นที่การศึกษา

3.บทบาทบุคลากรในโรงเรียน
 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
      ในระดับโรงเรียน ควรมีการกำหนดแนวทางในการปฏิบัตที่ชัดเจนและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมให้ความสำคัญในการบริหารจัดการเพื่อนำคอมพิวเตอร์พกพาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้น บุคลากรควรมีบทบาท ดังนี้
   1.1 ศึกษาคู่มือ แนวทางการใช้แท็บเล็ต
   1.2 วางแผนการจัดการเรียนการสอนให้กับครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์พกพาจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   1.3 ประชุมชี้แจงผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ให้มีความเข้าใจในการช่วยเหลือบุตรหลาน
   1.4 ส่งเสริม สนับสนุน เปิดโอกาสให้ครูผู้สอนพัฒนาตนเองเพื่อใช้คอมพิวเตอร์พพาจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   1.5 ติดตามประเมินผลการใช้แท็บเล็ต ซึ่งจะช่วยให้ครูพัฒนาศักยภาพได้ดีขึ้น ประเมินเพื่อนำผลมาปรับปรุงแก้ไข ให้เกิดการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์
   1.6 รายงานผลสรุปผลการดำเนินงานและเผยแพร่งานที่ประสบความสำเร็จในการใช้แท็บเล็ตระหว่างโรงเรียน
2) บทบาทบุคลากรระดับห้องเรียน
    ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่1เป็นบุคลากรที่สำคัญที่จะนำนโยบายลงสู้การปฏิบัติได้เป็นไปตามรูปธรรมและมรประสิทธิภาพ แม้การบริหารจัดการในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับโรงเรียนจะดีเพียงใดก็ตามหากครูผู้สอนไม่ใส่ใจที่จะนำคอมพิวเตอร์พกพาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนสูงสุด นโยบายนี้ก็จะบรรลุเป้าหมายได้ยาก ดังนั้น ครูผู้สอนควรดำเนินการ ดังนี้

   2.1 ศึกษา พัฒนาตนเองในการใช้คอมพิวเตอรืพกพาเพื่อการเรียนการสอนให้เกิดทักษะอย่างคล่องแคล่ง
   2.2 จัด/ปรับปรุงระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ในห้องเรียนให้มีความปลอดภัยในการใช้คอมพิวเตอร์พกพา
   2.3 ครูประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคลเพื่อประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนในการใช้ Learning Object
3) บทบาทผู้ปกครอง
    การใช้คอมพิวเตอร์พกพาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนนั้น ผู้ปกครองถือว่าเป็นบุคลสำคัญที่จะช่วยให้เด็กนักเรียนใช้ประโยชน์จาก Learning Object มากที่สุด ดังนั้น ผู้ปกครองมีบทบาทหน้าที่ดังนี้
3.1 ศึกษาเอกสาร แนวทางการใช้ ทำความเข้าใจในการใช้แท็บเล็ต
3.2 ศึกษา Learning Object ในคอมพิวเตอร์พกพาเพื่อช่วยเหลือ ส่งเสริมการเรียนของบุตรหลาน
3.3 ผู้ปกครองร่วมศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับนักเรียนในการศึกษาบทเรียนแท็บเล็ต
3.4 ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในการสื่อสารระหว่างนักเรียน ครู โดยใช้แท็บเล็ต
การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้แท็บเล็ตในเชิงประถมศึกษา
     การนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ในการจัดการศึกษาเป็นความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้ประโยชน์จากความเป็นคนในยุคดิจิตอลของผู้เรียนในการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา หรือที่เราเรียกทับศัพท์ว่า แท็บเล็ตพีซีการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 จะให้ความสำคัญกับการบวนการเรียนรู้มากกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรงเป็นผู้ให้คำปรึกษา อำนวยความสะดวก ออกแบบการเรียนการสอนให้ผู้เรียนฝึกการค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต แท็บเล็ตพีซีเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่าย รวดเร็ว[4]และมีคุณลักษณะที่เหมาะสมที่ช่วยในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แท็บเล็ตพีซีเป็นได้ทั้งสื่อและเครื่องมือมือหรับใช้ในการเรียนการสอน หากนำไปใช้เป็นเครื่องมือ จะอยู่ในรูปแบบ mWBI คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บน แท็บเล็ตพีซีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เนื้อหาวิชาจะถูกโหลดจากอินเทอร์เน็ตในรูปแบบ html5 ผู้เรียนจะทำกิจกรรมสื่อการเรียนรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์บนเครือข่าย แต่ในบริบทประเทศไทยแล้ว แท็บเล็ตพีซีจะเป็นสื่อสำหรับใช้ในการเรียนการสอนแบบ mCAI[5] ซึ่งเนื้อหาวิชาถูกบรรจุไว้ในรูปแบบ mobile application และนำไปติดตั้งลงบนแท็บเล็ตพีซี ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาได้เลยโดยไม่ต้องรอการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การจัดการเรียนรู้จะเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตภาพศึกษา (Individual Learning) โดยผู้เรียนจะเรียนรู้ตามความสนใจและความพร้อมของตนเอง จะเห็นได้ว่าสื่อการสอนแบบ mCAI นั้น เป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่สะดวกต่อการใช้งานทั้งผู้สอนและผู้เรียนทั้งในสังคมเมืองและสังคมชนบทที่ห่างไกล อันเป็นการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาได้ อย่างดียิ่ง แต่ถ้าหากรัฐบาลสนับสนุนการจัดระบบโครงสร้างพื้นฐานให้กับสถานศึกษา ให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ ปรับลักษณะของอุปกรณ์แท็บเล็ตให้เหมาะสมกับการสืบค้นข้อมูล ก็ยิ่งจะช่วยทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในยุคดิจิตอล
ข้อดีของการใช้แท็บเท็ต
            ผลกระทบเชิงบวกจาการใช้แท็บเล็ตพีซีในการเรียนการสอนต่อตนเอง ครอบครัว สถานศึกษาและต่อสังคม อาทิเช่น แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็ก เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็กๆ ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถเรียนรู้ภาษาด้วยการใช้เป็นวิดีโอ แชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขินอายเหมือนกับการสื่อสารต่อหน้า ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น แตกต่างจากการเรียนจากหนังสือซึ่งไม่น่าสนใจและเข้าใจยากกว่า ทำให้ผู้สอนสามารถเข้าถึงรูปภาพ วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่ผู้เรียน
ข้อเสียของการใช้แท็บเล็ต
            การนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้เรียนได้ อาทิเช่น อาจมีผู้เรียนจำนวนมากติดอินเทอร์เน็ต เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคน ขาดการมีปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมกับผู้อื่น ขาดหรือออกกำลังกายน้อยลง มีปัญหาเรื่องสายตาสั้น มีปัญหาด้านสุขภาพ และทำให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ จนอาจทำให้ติดและทำให้ส่งผลต่อผลการเรียน
ปัญหาและอุปสรรค
นโยบายของรัฐบาลในการจัดสรรแท็บเล็ตพีซีนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปฏิวัติการเรียนรู้ของผู้เรียนไทย เพียงแต่อาจเกิดปัญหาตามมาหลังจากที่มีการแจก Tablet ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1.      การเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตพีซีอาจไม่จำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาใหม่ แต่จำเป็นต้องมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่นำแท็บเล็ตพีซีมาใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือในการเรียนการสอน ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนจัดการเรียนรู้จากส่วนกลางส่งให้ทุกสถานศึกษา เพื่อให้ผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นำไปใช้จัดการเรียนการสอน แต่มีข้อสังเกตคือแผนจัดการเรียนรู้นี้ยืดหยุ่นพอหรือไม่ในการใช้จัดการเรียนการสอนในบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละสถานศึกษา
2.      ผู้สอนยังขาดทักษะการใช้อุปกรณ์ Tablet เพื่อการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียน
3.      เมื่อผู้เรียนเลื่อนชั้น เนื้อหาบทเรียนในชั้นเดิมจะถูกลบเพื่อใส่เนื้อหาบทเรียนในชั้นใหม่เข้าไป เนื่องจากเนื้อที่การจัดเก็บข้อมูลของแท็บเล็ตมีจำกัด ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถกลับมาทบทวนเนื้อบทเรียนเดิมได้
4.      ภาระด้านการบำรุงรักษา การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์ และการใช้งานเป็นภาระของสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหมดระยะประกัน
5.      อุปกรณ์แท็บเล็ตเปลี่ยนรุ่นเร็วมาก ดังนั้นแท็บเล็ตที่จัดหามาแจก ควรมีมาตรฐานรองรับสื่อบทเรียนและแอปพลิเคชันที่เกิดขึ้นใหม่ ในขณะที่ด้านเทคนิคก็พบปัญหามากมาย เช่น แบตเตอรี่หมดเร็ว ใช้งานได้ติดต่อกันน้อยกว่า 1 ชั่วโมง เครื่องร้อน โดยสถานศึกษาหลายแห่งเสนอให้ส่วนกลางจัดสรรงบประมาณการจัดซ่อมบำรุงแท็บเล็ต และสำรองเครื่องเพื่อรองรับปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้รับการจัดการมากนัก
6.      ด้วยข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว ซึ่งเล็กเกินไปสำหรับการอ่านข้อความจากเว็บไซต์ การสัมผัสที่ไม่ลื่นไหล ระบบอินเตอร๋เน็ตของสถานศึกษาไม่เร็วและเสถียรพอ จึงเป็นการยากที่จะใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นเครื่องมือในการสืบค้น
จากงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาทัศนคติของผู้เรียนหรือผู้สอน การพัฒนาแอปพลิเคชัน บทเรียน แต่ยังขาดงานวิจัยที่ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเมื่อนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อยืนยันว่าแท็บเล็ตสามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง ซึงผลด้านลบจากการใช้แท็บเล็ตในการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องพึงตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก


แนวทางและความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา

จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้ให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มาระยะหนึ่ง พบว่ามีหลายประเด็นปัญหาในการใช้งานที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแท็บเล็ตพีซีเอง บทเรียนหรือแอปพลิเคชัน โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา ทักษะการใช้งานของผู้สอนและผู้เรียน หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้โดยใช้เครื่องแท็บเล็ตพีซีเป็นฐาน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร คณะผู้เขียนจึงได้เสนอข้อเสนอแนะให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้[
1.      รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับสถานศึกษาโดยเฉพาะสถานศึกษาที่อยู่ในชนบทห่างไกล ให้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.      สถานศึกษาต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นฐาน (Tablet Based Learning) เช่น ระบบกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย อุปกรณ์ชาร์ตแบตเตอรี่ จุดติดตั้งปลั๊กไฟในห้องเรียน โปรเจกต์เตอร์ และระบบเสียง เป็นต้น
3.      หากเป็นไปได้สถานศึกษาควรจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาโดยเฉพาะ เพื่อช่วยในการจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในให้มีประสิทธิภาพ
4.      ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพและประสิทธิภาพของเครื่องแท็บเล็ตพีซีที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละระดับ เช่น ขนาดหน้าจอ ความสว่างของหน้าจอ ระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ พอร์ตเชื่อมต่อที่จำเป็น สเปคของเครื่อง ความทนทาน ความปลอดภัยในการใช้งาน เป็นต้น
5.      ควรทดลองใช้กับกลุ่มทดลองก่อน เพื่อศึกษาผลกระทบ ผลลัพธ์ ปัญหาจากการใช้งาน รวมถึงประเมินความคุ้มค่า และนำผลการศึกษามาปรับปรุงแก้ไขการใช้งานแท็บเล็ตพีซีเพื่อการเรียนการสอนห้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
6.      ควรมีการพัฒนาผู้สอนให้สามารถใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้ผู้สอนสามารถพัฒนาบทเรียนหรือแอปพิเคชันบนแท็บเล็ตพีซี พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ให้ตรงกับบริบทของสถานศึกษาและตรงกับความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งรู้วิธีการดูแลรักษาแท็บเล็ตพีซีอย่างถูกต้องและเหมาะสม
7.      สร้างแรงกระตุ้นให้ผู้สอนพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นฐาน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมยุคศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีความสุข
8.      ควรมีการฝึกทักษะการใช้งานแท็บเล็ตพีซีให้กับผู้เรียน ทั้งการใช้งานเบื้องต้น การเข้าถึงและเรียนรู้บทเรียน การสืบค้นข้อมูลความรู้จากอินเทอร์เน็ต รวมถึงการใช้งานที่ถูกวิธี
การวางแผน การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา การศึกษาวิจัยในเรื่องของผลกระทบให้รอบด้าน ทั้งผู้สอน ผู้เรียน และการทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ สำหรับสถานศึกษาที่มีความพร้อมในทุกด้านแล้ว ควรคำนึงถึงการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ การกำกับดูแลการใช้งานของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ตพีซีได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดจนทักษะที่บุคคลในศตวรรษที่ 21 พึงมี อีกทั้งยังเป็นการลดผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย
ครูประถมศึกษาจะต้องเตรียมความตัวอย่างไร

   1) ปรับเปลี่ยน ทัศนคติ และวิธีการสอนในการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet)
   2) มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet)
   3) จัดหาสื่อ ศูนย์หรือแหล่งความรู้ที่หลากหลายไว้เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระ 
   4) เตรียม และปรับเปลี่ยนห้องเรียน ให้เอื้อต่อการใช้คอมพิวเตอร์พกพา ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
   5) กำกับ ดูแล รักษา ติดตาม และประเมินผลในการใช้ คอมพิวเตอร์พกพาในชั้นเรียนของตนเอง
   6) ให้ความร่วมมือในการประกันคุณภาพของระบบการเรียนการสอนภควันตภาพที่ใช้ คอมพิวเตอร์พกพา ด้วยการวิจัยในห้องเรียน การเก็บข้อมูลและเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการใช้ คอมพิวเตอร์พกพา ให้ดีขึ้น

ในฐานนะที่เป็นครูประถมมีความคิดอย่างในการใช้แท็บเล็ต
        สามารถช่วยให้เด็กนักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติมจากเนื้อหาในหนังสือเรียน และสามารถค้นคว้าหาคำศัพท์เพิ่มเติมได้จากแท็บเล็ต เพื่อทักษะองค์ความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจได้อีกด้วย
  ข้อดี
     -สามารถเรียนรู้ได้ง่ายและสะดวกในการพกพา
ข้อเสีย

     - ทำให้เด็กนักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียนรู้ จะสนใจสื่อออนไลน์มากกว่าการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น