วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รายงานการวิจัยผลของการใช้แท็บเล็ต ป.๑

สรุปรายงานการวิจัยผลของการใช้แท็บเล็ต ป.
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     1.ได้แนวคิดและวิธีการในการพัฒนาศักยาภาพการจัดการเรียนการสอนของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ให้มีความเข้มแข็ง
2.ได้แนวทางในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยใช้แท็บเล็ต
นิยามเชิงปฏิบัติการ
ผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากการใช้แท็บเล็ต  หมายถึง ความรู้ความสามารถของนักเรียนในการใช้แท็บเล็ตในการสืบค้นความรู้และเจตคติของการใช้แท็บเล็ต
ความรู้ความสามารถของนักเรียนในการใช้แท็บเล็ตในการสืบค้นความรู้ หมายถึง ผลการใช้แท็บเล็ตในการหาความรู้และเขียนสรุปความรู้ตามตัวชี้วัดรายปีชั้นประถมศึกษาปีที่1
พฤติกรรมการใช้แท็บเล็ตของนักเรียน หมายถึง ลักษณะการใช้แท็บเล็ตของนักเรียนในด้านวัตถุประสงค์ของการใช้แท็บเล็ต ปริมาณการใช้แท็บเล็ต และสถานที่ที่ใช้แท็บเล็ต
ผลกระทบต่อต่อสุขภาพของนักเรียนจากการใช้แท็บเล็ต หมายถึง อาการทางด้านร่างกายและจิตใจที่เปลี่ยนแปลงหลังจากการใช้แท็บเล็ต
ผลกระทบต่อสังคมของนักเรียนหลังจากการใช้แท็บเล็ต หมายถึง ลักษณะความสัมผันธ์ของนักเรียนกับเพื่อนนักเรียนกับครู และนักเรียนกับผู้ปกครองที่เปลี่ยนแปลงหลังจากการใช้แท็บเล็ต
การจักการเรียนรู้ของครูโดยใช้แท็บเล็ต หมายถึง ความสามารถ เจตคติ และพฤติกรรมการใช้แท็บเล็ตในการจักการเรียนรู้ของครู


การนำนโยบายสู่การปฏิบัติการ โครงการ “One Tablet PC per Child : OTPC”
2.1 การนำนโยบายเข้าสู้การปฏิบัติการ
   การนำนโยบายเข้าสู้การปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม และบรรลุวัตถุประสงค์ตามโครงการนั้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันนำสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง การปฏิบัติในแต่ละระดับมีความแตกต่างกันตามบทบาทหน้าที่
1.บทบาทบุคลากรระดับเขตพื้นที่การศึกษา
   1.การนำนโยบายเข้าสู้การปฏิบัติการการใช้แท็บเล็ต โรงเรียนในสังกัดทำ MOU กับสถานศึกษา
   2.ประชาสัมพันธ์ชี้แจงผู้ปกครองให้มีความเข้าใจในนบายการใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการเรียนการสอน
   3.จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดเก็บคอมพิวเตอร์พกพาก่อนแจกจ่ายแก่โรงเรียนในสังกัด
   4.แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจรับ ตรวจสอบคอมพิวเตอร์พกพา
   5.แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการเป็นลายลักษณ์อักษร
   6.พัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเกดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์พกพาในการจัดการเรียนการสอน
2.บทบาทของนักศึกษานิเทศก์/ผู้ได้รับการแต่งตั้งรับผิดชอบโครงการ
   1.นิเทศให้ความรู้แก่ครูผู้สอนในการทำหน้าที่ใช้แท็บเล็ต ในการจัดการเรียนการสอน
   2.นิเทศส่งเสริมสนับสนุนครูผู้สอนจัดกิจกรรมในการใช้แท็บเล็ต
   3.ประสานงาน นิเทศชี้แนะการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่นำสื่อแท็บเล็ต ไปสู่ในการปฏิบัติในการจัดการ เรียนการสอน
   4.รายงานผลสรุปการนิเทศและเผยแพร่งานที่ประสบความสำเร็จในการใช้สื่อแท็บเล็ต ระดับเขตพื่นที่การศึกษา

3.บทบาทบุคลากรในโรงเรียน
 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
      ในระดับโรงเรียน ควรมีการกำหนดแนวทางในการปฏิบัตที่ชัดเจนและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมให้ความสำคัญในการบริหารจัดการเพื่อนำคอมพิวเตอร์พกพาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้น บุคลากรควรมีบทบาท ดังนี้
   1.1 ศึกษาคู่มือ แนวทางการใช้แท็บเล็ต
   1.2 วางแผนการจัดการเรียนการสอนให้กับครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์พกพาจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   1.3 ประชุมชี้แจงผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ให้มีความเข้าใจในการช่วยเหลือบุตรหลาน
   1.4 ส่งเสริม สนับสนุน เปิดโอกาสให้ครูผู้สอนพัฒนาตนเองเพื่อใช้คอมพิวเตอร์พพาจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   1.5 ติดตามประเมินผลการใช้แท็บเล็ต ซึ่งจะช่วยให้ครูพัฒนาศักยภาพได้ดีขึ้น ประเมินเพื่อนำผลมาปรับปรุงแก้ไข ให้เกิดการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์
   1.6 รายงานผลสรุปผลการดำเนินงานและเผยแพร่งานที่ประสบความสำเร็จในการใช้แท็บเล็ตระหว่างโรงเรียน
2) บทบาทบุคลากรระดับห้องเรียน
    ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่1เป็นบุคลากรที่สำคัญที่จะนำนโยบายลงสู้การปฏิบัติได้เป็นไปตามรูปธรรมและมรประสิทธิภาพ แม้การบริหารจัดการในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับโรงเรียนจะดีเพียงใดก็ตามหากครูผู้สอนไม่ใส่ใจที่จะนำคอมพิวเตอร์พกพาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนสูงสุด นโยบายนี้ก็จะบรรลุเป้าหมายได้ยาก ดังนั้น ครูผู้สอนควรดำเนินการ ดังนี้

   2.1 ศึกษา พัฒนาตนเองในการใช้คอมพิวเตอรืพกพาเพื่อการเรียนการสอนให้เกิดทักษะอย่างคล่องแคล่ง
   2.2 จัด/ปรับปรุงระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ในห้องเรียนให้มีความปลอดภัยในการใช้คอมพิวเตอร์พกพา
   2.3 ครูประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคลเพื่อประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนในการใช้ Learning Object
3) บทบาทผู้ปกครอง
    การใช้คอมพิวเตอร์พกพาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนนั้น ผู้ปกครองถือว่าเป็นบุคลสำคัญที่จะช่วยให้เด็กนักเรียนใช้ประโยชน์จาก Learning Object มากที่สุด ดังนั้น ผู้ปกครองมีบทบาทหน้าที่ดังนี้
3.1 ศึกษาเอกสาร แนวทางการใช้ ทำความเข้าใจในการใช้แท็บเล็ต
3.2 ศึกษา Learning Object ในคอมพิวเตอร์พกพาเพื่อช่วยเหลือ ส่งเสริมการเรียนของบุตรหลาน
3.3 ผู้ปกครองร่วมศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับนักเรียนในการศึกษาบทเรียนแท็บเล็ต
3.4 ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในการสื่อสารระหว่างนักเรียน ครู โดยใช้แท็บเล็ต
การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้แท็บเล็ตในเชิงประถมศึกษา
     การนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ในการจัดการศึกษาเป็นความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้ประโยชน์จากความเป็นคนในยุคดิจิตอลของผู้เรียนในการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา หรือที่เราเรียกทับศัพท์ว่า แท็บเล็ตพีซีการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 จะให้ความสำคัญกับการบวนการเรียนรู้มากกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรงเป็นผู้ให้คำปรึกษา อำนวยความสะดวก ออกแบบการเรียนการสอนให้ผู้เรียนฝึกการค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต แท็บเล็ตพีซีเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่าย รวดเร็ว[4]และมีคุณลักษณะที่เหมาะสมที่ช่วยในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แท็บเล็ตพีซีเป็นได้ทั้งสื่อและเครื่องมือมือหรับใช้ในการเรียนการสอน หากนำไปใช้เป็นเครื่องมือ จะอยู่ในรูปแบบ mWBI คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บน แท็บเล็ตพีซีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เนื้อหาวิชาจะถูกโหลดจากอินเทอร์เน็ตในรูปแบบ html5 ผู้เรียนจะทำกิจกรรมสื่อการเรียนรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์บนเครือข่าย แต่ในบริบทประเทศไทยแล้ว แท็บเล็ตพีซีจะเป็นสื่อสำหรับใช้ในการเรียนการสอนแบบ mCAI[5] ซึ่งเนื้อหาวิชาถูกบรรจุไว้ในรูปแบบ mobile application และนำไปติดตั้งลงบนแท็บเล็ตพีซี ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาได้เลยโดยไม่ต้องรอการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การจัดการเรียนรู้จะเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตภาพศึกษา (Individual Learning) โดยผู้เรียนจะเรียนรู้ตามความสนใจและความพร้อมของตนเอง จะเห็นได้ว่าสื่อการสอนแบบ mCAI นั้น เป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่สะดวกต่อการใช้งานทั้งผู้สอนและผู้เรียนทั้งในสังคมเมืองและสังคมชนบทที่ห่างไกล อันเป็นการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาได้ อย่างดียิ่ง แต่ถ้าหากรัฐบาลสนับสนุนการจัดระบบโครงสร้างพื้นฐานให้กับสถานศึกษา ให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ ปรับลักษณะของอุปกรณ์แท็บเล็ตให้เหมาะสมกับการสืบค้นข้อมูล ก็ยิ่งจะช่วยทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในยุคดิจิตอล
ข้อดีของการใช้แท็บเท็ต
            ผลกระทบเชิงบวกจาการใช้แท็บเล็ตพีซีในการเรียนการสอนต่อตนเอง ครอบครัว สถานศึกษาและต่อสังคม อาทิเช่น แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็ก เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็กๆ ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถเรียนรู้ภาษาด้วยการใช้เป็นวิดีโอ แชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขินอายเหมือนกับการสื่อสารต่อหน้า ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น แตกต่างจากการเรียนจากหนังสือซึ่งไม่น่าสนใจและเข้าใจยากกว่า ทำให้ผู้สอนสามารถเข้าถึงรูปภาพ วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่ผู้เรียน
ข้อเสียของการใช้แท็บเล็ต
            การนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้เรียนได้ อาทิเช่น อาจมีผู้เรียนจำนวนมากติดอินเทอร์เน็ต เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคน ขาดการมีปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมกับผู้อื่น ขาดหรือออกกำลังกายน้อยลง มีปัญหาเรื่องสายตาสั้น มีปัญหาด้านสุขภาพ และทำให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ จนอาจทำให้ติดและทำให้ส่งผลต่อผลการเรียน
ปัญหาและอุปสรรค
นโยบายของรัฐบาลในการจัดสรรแท็บเล็ตพีซีนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปฏิวัติการเรียนรู้ของผู้เรียนไทย เพียงแต่อาจเกิดปัญหาตามมาหลังจากที่มีการแจก Tablet ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1.      การเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตพีซีอาจไม่จำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาใหม่ แต่จำเป็นต้องมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่นำแท็บเล็ตพีซีมาใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือในการเรียนการสอน ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนจัดการเรียนรู้จากส่วนกลางส่งให้ทุกสถานศึกษา เพื่อให้ผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นำไปใช้จัดการเรียนการสอน แต่มีข้อสังเกตคือแผนจัดการเรียนรู้นี้ยืดหยุ่นพอหรือไม่ในการใช้จัดการเรียนการสอนในบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละสถานศึกษา
2.      ผู้สอนยังขาดทักษะการใช้อุปกรณ์ Tablet เพื่อการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียน
3.      เมื่อผู้เรียนเลื่อนชั้น เนื้อหาบทเรียนในชั้นเดิมจะถูกลบเพื่อใส่เนื้อหาบทเรียนในชั้นใหม่เข้าไป เนื่องจากเนื้อที่การจัดเก็บข้อมูลของแท็บเล็ตมีจำกัด ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถกลับมาทบทวนเนื้อบทเรียนเดิมได้
4.      ภาระด้านการบำรุงรักษา การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์ และการใช้งานเป็นภาระของสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหมดระยะประกัน
5.      อุปกรณ์แท็บเล็ตเปลี่ยนรุ่นเร็วมาก ดังนั้นแท็บเล็ตที่จัดหามาแจก ควรมีมาตรฐานรองรับสื่อบทเรียนและแอปพลิเคชันที่เกิดขึ้นใหม่ ในขณะที่ด้านเทคนิคก็พบปัญหามากมาย เช่น แบตเตอรี่หมดเร็ว ใช้งานได้ติดต่อกันน้อยกว่า 1 ชั่วโมง เครื่องร้อน โดยสถานศึกษาหลายแห่งเสนอให้ส่วนกลางจัดสรรงบประมาณการจัดซ่อมบำรุงแท็บเล็ต และสำรองเครื่องเพื่อรองรับปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้รับการจัดการมากนัก
6.      ด้วยข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว ซึ่งเล็กเกินไปสำหรับการอ่านข้อความจากเว็บไซต์ การสัมผัสที่ไม่ลื่นไหล ระบบอินเตอร๋เน็ตของสถานศึกษาไม่เร็วและเสถียรพอ จึงเป็นการยากที่จะใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นเครื่องมือในการสืบค้น
จากงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาทัศนคติของผู้เรียนหรือผู้สอน การพัฒนาแอปพลิเคชัน บทเรียน แต่ยังขาดงานวิจัยที่ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเมื่อนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อยืนยันว่าแท็บเล็ตสามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง ซึงผลด้านลบจากการใช้แท็บเล็ตในการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องพึงตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก


แนวทางและความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา

จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้ให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มาระยะหนึ่ง พบว่ามีหลายประเด็นปัญหาในการใช้งานที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแท็บเล็ตพีซีเอง บทเรียนหรือแอปพลิเคชัน โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา ทักษะการใช้งานของผู้สอนและผู้เรียน หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้โดยใช้เครื่องแท็บเล็ตพีซีเป็นฐาน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร คณะผู้เขียนจึงได้เสนอข้อเสนอแนะให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้[
1.      รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับสถานศึกษาโดยเฉพาะสถานศึกษาที่อยู่ในชนบทห่างไกล ให้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.      สถานศึกษาต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นฐาน (Tablet Based Learning) เช่น ระบบกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย อุปกรณ์ชาร์ตแบตเตอรี่ จุดติดตั้งปลั๊กไฟในห้องเรียน โปรเจกต์เตอร์ และระบบเสียง เป็นต้น
3.      หากเป็นไปได้สถานศึกษาควรจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาโดยเฉพาะ เพื่อช่วยในการจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในให้มีประสิทธิภาพ
4.      ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพและประสิทธิภาพของเครื่องแท็บเล็ตพีซีที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละระดับ เช่น ขนาดหน้าจอ ความสว่างของหน้าจอ ระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ พอร์ตเชื่อมต่อที่จำเป็น สเปคของเครื่อง ความทนทาน ความปลอดภัยในการใช้งาน เป็นต้น
5.      ควรทดลองใช้กับกลุ่มทดลองก่อน เพื่อศึกษาผลกระทบ ผลลัพธ์ ปัญหาจากการใช้งาน รวมถึงประเมินความคุ้มค่า และนำผลการศึกษามาปรับปรุงแก้ไขการใช้งานแท็บเล็ตพีซีเพื่อการเรียนการสอนห้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
6.      ควรมีการพัฒนาผู้สอนให้สามารถใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้ผู้สอนสามารถพัฒนาบทเรียนหรือแอปพิเคชันบนแท็บเล็ตพีซี พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ให้ตรงกับบริบทของสถานศึกษาและตรงกับความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งรู้วิธีการดูแลรักษาแท็บเล็ตพีซีอย่างถูกต้องและเหมาะสม
7.      สร้างแรงกระตุ้นให้ผู้สอนพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นฐาน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมยุคศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีความสุข
8.      ควรมีการฝึกทักษะการใช้งานแท็บเล็ตพีซีให้กับผู้เรียน ทั้งการใช้งานเบื้องต้น การเข้าถึงและเรียนรู้บทเรียน การสืบค้นข้อมูลความรู้จากอินเทอร์เน็ต รวมถึงการใช้งานที่ถูกวิธี
การวางแผน การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา การศึกษาวิจัยในเรื่องของผลกระทบให้รอบด้าน ทั้งผู้สอน ผู้เรียน และการทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ สำหรับสถานศึกษาที่มีความพร้อมในทุกด้านแล้ว ควรคำนึงถึงการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ การกำกับดูแลการใช้งานของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ตพีซีได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดจนทักษะที่บุคคลในศตวรรษที่ 21 พึงมี อีกทั้งยังเป็นการลดผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย
ครูประถมศึกษาจะต้องเตรียมความตัวอย่างไร

   1) ปรับเปลี่ยน ทัศนคติ และวิธีการสอนในการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet)
   2) มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet)
   3) จัดหาสื่อ ศูนย์หรือแหล่งความรู้ที่หลากหลายไว้เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระ 
   4) เตรียม และปรับเปลี่ยนห้องเรียน ให้เอื้อต่อการใช้คอมพิวเตอร์พกพา ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
   5) กำกับ ดูแล รักษา ติดตาม และประเมินผลในการใช้ คอมพิวเตอร์พกพาในชั้นเรียนของตนเอง
   6) ให้ความร่วมมือในการประกันคุณภาพของระบบการเรียนการสอนภควันตภาพที่ใช้ คอมพิวเตอร์พกพา ด้วยการวิจัยในห้องเรียน การเก็บข้อมูลและเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการใช้ คอมพิวเตอร์พกพา ให้ดีขึ้น

ในฐานนะที่เป็นครูประถมมีความคิดอย่างในการใช้แท็บเล็ต
        สามารถช่วยให้เด็กนักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติมจากเนื้อหาในหนังสือเรียน และสามารถค้นคว้าหาคำศัพท์เพิ่มเติมได้จากแท็บเล็ต เพื่อทักษะองค์ความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจได้อีกด้วย
  ข้อดี
     -สามารถเรียนรู้ได้ง่ายและสะดวกในการพกพา
ข้อเสีย

     - ทำให้เด็กนักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียนรู้ จะสนใจสื่อออนไลน์มากกว่าการเรียนการสอน

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณีประจําภาคกลาง

ประเพณีการแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

dscf5340resizepx4[1]
ประเพณีการแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์  จังหวัดนครปฐม
          “แสงนวลจากจันทร์วันเพ็ญส่องสว่างค่ำคืนให้รื่นเริงไปพร้อมกับเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ประจำปี  ผู้คนจากทั่วสารทิศร่วมบูชาพระบรมสารีริกธาตุด้วยเคารพศรัทธา  เสริมสร้างสิริมงคลแก่ชีวิต  แล้วร่วมแรงร่วมใจแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์  อิ่มบุญแล้วยังได้สนุกครึกครื้นไปกับบรรยากาศงานวัด  กิจกรรม  การประกวด  และการละเล่น  จึงมากมายรอยยิ้ม  ความสุขเช่นทุกๆ ปี”
เทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์  พิธีที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมายาวนานนับร้อยปีของชาวนครปฐม  เมื่อวันเวลาผ่านมาถึงคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปี  องค์พระปฐมเจดีย์มีผู้คนหลั่งไหลมากราบไหว้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ  ดั่งได้เฝ้าอยู่เบื้องพระยุคลบาทแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  สร้างสิริมงคลแก่ชีวิต  ท่ามกลางแสงนวลจากจันทร์เต็มดวงในคืนวันเพ็ญ  ยามต้ององค์พระปฐมเจดีย์ปูชนียสถานซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนานคู่แผ่นดินสุวรรณภูมิ  นับแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  นับอายุกว่าพันปีที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า  ภายใต้พระเจดีย์ใหญ่รูประฆังคว่ำ  ปากผายมหึมา  โครงสร้างเป็นไม้ซุง  รัดด้วยโซ่เส้นมหึมา  ก่ออิฐ  ถือปูน  ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ  ประกอบด้วยวิหาร ๔ ทิศ  กำแพงแก้ว ๒ ชั้น  งดงามเคียงคู่กาลเวลา 

ประเพณีรับบัว

ประเพณีรับบัว
ประเพณีประเพณีรับบัวเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นทุกวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
มูลเหตุของการเกิดประเพณีรับบัวก็เนื่องมาจากว่า แต่เดิมในอำเภอบางพลีจะมีประชากรอาศัยอยู่ ๓ กลุ่มคือ คนไทย คนรามัญ และคนลาว ต่อมาคนไทยทั้ง ๓ กลุ่ม ได้ตกลงกันว่าจะช่วยกันถากถางพงหญ้าให้เป็นพื้นที่ทำไร่ทำนา จนกระทั่งคนไทยทั้ง ๓ กลุ่มได้ถางหญ้ามาถึง ๓ แยก ทุกคนตกลงกันว่าจะแยกไปคนละทาง โดยคนลาวไปทางคลองสลุด คนไทยไปทางคลองชวดลากหญ้า คนรามัญไปทางคลองลาดกระบัง
๒-๓ ปีต่อมา กลุ่มรามัญที่ย้ายไปอยู่ทางคลองลาดกระบังโดยหนูและนกทำลายพืชผลทางการเกษตรจึงต้องย้ายกลับมาอยู่ถิ่นฐานเดิมคือที่ปากลัด (พระประแดง) โดยเริมออกเดินทางในตอนเช้ามืดของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ แต่ก่อนออกเดินทางพวกรามัญได้เก็บดอกบัวเพื่อนำไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียพวกคนไทยบางคนที่ยังคงอาศัยอยู่ ณ คลองลาดกระบัง ว่าในปีต่อไปถ้าถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ให้ช่วยเก็บดอกบัวและรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตแล้วพวกตนจะมารับ
ครั้นถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ คนไทยก็ได้เก็บดอกบัวและไปรวมไว้ที่วัดบางพลีใหญ่หรือวัดหลวงพ่อโตตามคำร้องขอของชาวรามัญ การมาของชาวรามัญจะมาโดยเรือถึงประมาณตี ๓-๔ และทุกครั้งที่มาจะมีการร้องเพลงกันอย่างสนุกสนานส่วนผู้ที่มาคอยรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วย
“พิธีกรรมของประเพณีรับบัวจะเริ่มต้นในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยในตอนเย็นชาวพระประแดงและเพื่อนบ้านใกล้เคียง จะลงเรือและร่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาบ้าง ตามคลองสำโรงบ้าง แต่ทุกคนจะมีจุดหมายเดียวกันคือไปที่หมู่บ้านบางพลี โดยในเรือที่ร่องกันมานั่นจะมีเครื่องดนตรีนานาชนิด เช่น ปี่ ซอ แง แบ กรับ และกลอง เป็นต้น และทุกคนจะร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน ส่วนชาวบางพลีก็จะเตรียมดอกบัวและอาหารไว้ต้อนรับแขกผู้มาเยือน

ประเพณีประจําภาคอีสาน

บุญข้าวจี่
     เดือนสามชาวบ้านนิยมทำบุญข้าวจี่ เพื่อถวายพระ เป็นการละทานชนิดหนึ่ง และถือว่าได้รับอานิสงส์มากงานหนึ่ง กำหนดทำบุญในเดือนสาม
ชื่อประเพณี : ประเพณีไหลเรือไฟ

จังหวัด : นครพนม
ช่วงเวลา : วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณเดือนตุลาคม)
ความสำคัญ
     เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดีย เพื่อบูชาท้าวผกาพรหม เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรก เพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำ
พิธีกรรม
     นำเรือไปลอยในแม่น้ำ ก่อนลอยให้กล่าวคำบูชาดังนี้
“ อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชิง อภิปูเชนิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ที่ฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตคะตุ"
     แปลว่า  “ ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระมุนีเจ้าอันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่งแม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ
สาระ
     เปรียบเทียบให้เห็นชีวิตมนุษย์ มีเกิด มีเจริญก้าวหน้า และดับไปในที่สุดหรือ ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจัง  

ประเพณีประจำภาคเหนือ

ประเพณีปักธงชัย



ช่วงเวลา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (สมัยโบราณเลือกวันใดวันหนึ่งในระหว่างขึ้น ๑-๑๔ ค่ำเดือน ๑๒)

ความสำคัญ

ประเพณีปักธงชัย คือ ประเพณีที่ชาวนครไทยพร้อมใจกันนำธงผ้าขาว ๓ ผืนไปปักบนยอดเขาฉันเพลยอดเขาฮันไฮ หรือยอดเขาย่านชัย และยอดเขาช้างล้วง ที่ทำให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้ปฏิบัติ แสดงถึงพลังศรัทธาที่ชาวนครไทยมีต่อ "พ่อขุนบางกลางหาว"

พิธีกรรม

สมัยโบราณ มีพิธีกรรมดังนี้
๑. เมื่อใกล้เทศกาลปักธงชัย เวลากลางคืนจะมีชาวบ้านที่เป็นชายเป็นผู้ตีฆ้องเดินนำหน้าพระภิกษุไปรับบิณฑบาต "ดอกฝ้ายสีขาว" จากนั้นสตรีสูงอายุในหมู่บ้านใกล้ๆ วัดเหนือ วัดกลาง และวัดหัวร้อง จะชักชวนชาวบ้านมาช่วยกันตากฝ้าย หีบฝ้าย ดีดฝ้าย และเข็นฝ้าย (ปั่นฝ้าย) เมื่อได้เส้นด้ายขาวนวลแล้วจึงช่วยกันทอธงผ้าขาว ๓ ผืน จาก ๓ หมู่บ้าน
๒. ในวันพิธีปักธงชัย ชาวอำเภอนครไทยจะนำอาหารหวานคาว และนิมนต์พระภิกษุขึ้นไปยังเทือกเขาช้างล้วง ถวายภัตตาหารเพล ผู้นำชาวบ้าน จะกล่าวคำถวายธงผ้าขาวต่อพระภิกษุด้วยภาษาบาลี พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ชาวบ้านจะนำธงผ้าขาวมาผูกติดกับด้ามไม้ไผ่ นำไปปักบนร่องหินธรรมชาติ ณ ยอดเขาฉันเพล ยอดเขายั่นไฮ และยอดเขาช้างล้วงตามลำดับ หลังจากเสร็จพิธีปักธงชัยแล้ว ชาวบ้านจะเล่นดนตรีพื้นบ้านและฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนานลงมาจากยอดเขา
ปัจจุบัน มีพิธีกรรมดังนี้
๑. เมื่อใกล้เทศกาลปักธงชัย ชาวอำเภอนครไทยในหมู่บ้านใกล้วัดเหนือ วัดกลาง และวัดหัวร้อง จะช่วยซื้อฝ้ายและช่วยกันทอธงผ้าขาวขนาดกว้าง ๙๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๔ เมตร จำนวน ๓ ผืน จาก ๓ หมู่บ้านและทอเป็นลวดลายบริเวณชายธงอย่างสวยงาม
๒. เวลาเช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๒ จะนำธงไปทำพิธีบวงสรวงที่อนุสาวรีย์พ่อขุนบางกลางหาวภาคบ่ายมีการประกวดริ้วขบวนจากทุกหมู่บ้าน กลางคืนจัดงานรื่นเริงฉลอง
๓. รุ่งเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตั้งริ้วขบวนรถยนต์ เคลื่อนไปตามถนนแล้วเดินผ่านคันนาขึ้นไปประกอบพิธีปักธงชัยเช่นเดียวกับในสมัยโบราณ ตอนกลางคืนจัดงานลอยกระทงและมีการละเล่นต่าง ๆ

สาระ

ประเพณีปักธงชัยเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีคุณค่า ทำให้ประชาชนรู้สึกผูกพันกับถิ่นฐานบ้านเกิด ซึ่งก่อให้เกิดความรัก สามัคคีและช่วยเหลือกัน และเชื่อว่าหากปีใดไม่ปฏิบัติประเพณีนี้ ชาวนครไทยจะเกิดภัยพิบัติจากโรคภัย ภัยธรรมชาติ หรือเกิดไฟไหม้บ้านเรือน

ประเพณีประจำภาคใต้

ชิงเปรต
 
 

ช่วงเวลา
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐

ความสำคัญ
"ชิงเปรต" เป็นประเพณีของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน ๑๐ เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน ๑๐ นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วน เท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย
ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรต แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลาน ลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น

พิธีกรรม
การตั้งเปรต และชิงเปรตจะกระทำกันในวันที่ยกหมรับไปวัด ไม่ว่าจะเป็นวันแรม ๑ ค่ำ หรือ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ก็ตาม ผู้ตั้งเปรตจะนำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปเพื่อการตั้งเปรตด้วย อาหารที่ใช้ตั้งเปรตนี้ส่วนมากเป็นอาหารที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบอย่างละ นิดอย่างละหน่อย ขนมที่ไม่ขาดคือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมเบซำ(ดีซำ) นอกจากขนมดังกล่าวแล้ว ยังมีของแห้งที่ใช้เป็นเสบียงกรังก็จัดฝากไปด้วย เช่น ข้าวสาร หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล น้ำปลา กล้วย อ้อย มะพร้าว ด้าย เข็มเย็บผ้า ธูปเทียน นำลงจัดในหมรับ โดยเอาของแห้งรองก้นและอยู่ภายใน ส่วนขนมทั้งหลายอยู่ชั้นนอก ปิดคลุมด้วยผืนลาทำเป็นรูปเจดีย์ยอดแหลม หรือรูปอื่นแล้วแต่การประดิษฐ์ของผู้จัด ส่วนภาชนะที่ใช้ แต่เดิมนิยมใช้กระเชอหรือถาด นำหมรับ
ที่จัดแล้วไปวัด รวมกันตั้งไว้บน "ร้านเปรต" ซึ่งสร้างไว้กลางวัดยกเสาสูง ต่อมาในระยะหลัง ๆ ร้านเปรตทำเป็นศาลา หลังคามุงจากหรือมุงกระเบื้องแล้วแต่ฐานะของวัด บางถิ่นจึงเรียก "หลาเปรต" บนร้านเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อมไว้รอบและต่อยาวไปจนถึงพระสงฆ์ที่นั่งอยู่ใน วิหารที่เป็นที่ทำพิธีกรรม โดยสวดบังสุกุลอัฐิหรือกระดาษเขียนชื่อของผู้ตาย ซึ่งบุตรหลายนำมารวมกันในพิธีต่อหน้าพระสงฆ์ บุตรหลานจะกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปยังเปรตชนที่เป็นบรรพบุรุษ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว เก็บสายสิญจน์ ขนมต่าง ๆ จะถูกแบ่งออกส่วนหนึ่ง พร้อมกับของแห้งไว้ถวายพระ อีกส่วนหนึ่งให้เปรตชนที่พอมีกำลังเข้ามาเสพได้ ในขณะเดียวกันผู้ที่มาร่วมทำบุญทั้งหนุ่มสาว เฒ่าแก่ และโดยเฉพาะเด็ก ๆ จะเข้าไปรุมกันแย่งขนมที่ตั้งเปรตด้วยความสนุกสนาน เชื่อกันว่า การแย่งขนมเปรตที่ผ่าการทำพิธีแล้วนี้จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และยังเชื่อกันต่อไปว่าขนมเหล่านี้ถ้านำไปหว่านในสวนในนา จะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์เพิ่มผลผลิตสูง โดยเฉพาะขนมเทียน บางแห่งนำไปติดไว้ตามต้นไม้ผลเพื่อให้มีผลดก หลังจากนั้น ก็มักมีผู้ใจบุญโปรยทาน โดยใช้เหรียญสตางค์โดยไปที่ละมากเหรียญ ตรงไปยังฝูงชน ที่เรียกว่า "หว่านกำพรึก" แย่งกันอย่างนุกสนาน

สาระ
การทำบุญวันสารท เดือน ๑๐ กำหนดทำ ๒ ครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ โดยเชื่อว่า วันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรต หรือเปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลาน ๆ ก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับ เมื่อถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ ก็ถือว่าเป็นวันที่ปู่ย่าตายาย ต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็ทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง
การเตรียมข้าวของ ขนม ในวันทำบุญ เดือน ๑๐
๑. ลา มีความหมายใช้แทนเสื้อผ้า
๒. พอง มีความหมายว่าเป็นเครื่องประดับ
๓. ขนมเบซำ (ขนมเจาะหู) ใช้แทนเงิน หรือสตางค์มีรูในสมัยก่อน
๔. ขนมบ้า มีความหมายว่า เงินเหรียญ
๕. ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน


ประเพณีลากพระ (ชักพระ)
 
 

ช่วงเวลา
วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด
ความสำคัญ
เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน

พิธีกรรม
๑. การแต่งนมพระ
นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม
๒. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
๓. การลากพระ
ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง
ตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย :
อี้สาระพา เฮโล เฮโล
ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว
ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ

สาระ
ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญดังนี้
๑. ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า "เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก" นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร
๒. เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย
๓. เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลก ขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ